ประวัติความเป็นมา
———————————–

              สหกรณ์สารธารณสุขจังหวัดตาก จำกัด จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2531 ตามวัตถุประสงค์ของข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดตากกลุ่มหนึ่ง เพื่อต้องการส่งเสริมให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่สมัครเป็นสมาชิกรู้จักการออมทรัพย์และสร้างเสริมชีวิตให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น เมื่อเริ่มดำเนินการสหกรณ์ ฯ มีสมาชิกรวม121 ราย ถือหุ้นเป็นจำนวน  1,390 หุ้นเป็นเงินค่าหุ้น จำนวน 13,900 บาท จดทะเบียนเป็นสหกรณ์
ออมทรัพย์สาธารณสุขตาก จำกัดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2531 เลขทะเบียน สทส.(อ)51/2531ถึงปัจจุบันรวม 24 ปี

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
——————————————-

ส่งเสริมการออมทรัพย์ แบ่งออกเป็น  2 วิธีคือส่งเสริมการออมทรัพย์โดยการถือหุ้น  สหกรณ์กำหนดให้สมาชิกส่งชำระค่าหุ้นเป็นประจำ ทุกเดือน  โดยการหักเงินค่าหุ้น ณ ที่จ่ายเงินเดือนส่งเสริมการออมทรัพย์ โดยการรับฝากเงินจากสมาชิก ซึ่งแยกเงินรับฝากออกเป็น 3 ประเภท  คือ เงินรับฝากประจำ  เงินรับฝากออมทรัพย์และเงินรับฝากออมทรัพย์พิเศษสวัสดิการ เงินให้กู้แก่สมาชิกเงินกู้ สามัญ    สูงสุดไม่เกิน  2,500,000 บาท  ส่งชำระภายใน  180 งวดเงินกู้ ฉุกเฉิน    กู้ได้  9 เท่าของเงินเดือนที่เหลือสุทธิ ไม่เกิน 50,000 บาท ชำระ 15 งวดเงินกู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต    กู้ได้สูงสุด 100,000 บาท ชำระ 36 งวดเงินกู้ เพื่อการศึกษา   กู้ได้ สูงสุด 100,000 บาท ชำระ 36 งวดเงินกู้ เพื่อการเคหะ  กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 3,000,000 บาท ชำระ 300 งวด

วิสัยทัศน์

เป็นสมาชิกออมทรัพย์ที่มั่นคง
บริหารด้วยความโปร่งใส
สมาชิกมีความพึงพอใจ

พันธกิจ

1.ดำเนินการตามหลักการสหกรณ์ออมทรัพย์
2.บริหารทรัพย์สินเงินทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.มีโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจน
4.บริหารกิจการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นมและตรวจสอบได้
5.ให้บริการอย่างมีคุณภาพ ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
6.พัฒนาระบบในการบริหารจัดการให้มีความทันสมัย

เป้าหมาย

1.สหกรณ์มีการบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
2.ระดมเงินหุ้น รับฝาก และขยายการลงทุนของสหกรณ์
3.สมาชิกได้รัรบสวัสดิการและผลตอบแทนอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
และสังคมของสมาชิกด้วยวิธีช่วยตนเอง

ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน

1.สร้างความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์
2.พัฒนาระบบบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
3.พัฒนาองค์ความรู้ของคณะกรรมการและสมาชิกและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิก
4.พัฒนารูปแบบการประชาสัมพัน์ให้รวดเร็วและทั่วถึง
5.พัฒนารูปแบบเฝ้าระวังสถานการณ์ทางการเงิน
6.พัฒนารูปแบบบริการให้มีความหลากหลาย